สงครามโรค-สงครามเย็น ชี้จุดอ่อน-แข็งประเทศไทยหลังภัยโควิด
ถึงเวลาขับเคลื่อนเศรษฐกิจชุมชน ไม่ใช่เศรษฐกิจใหญ่ๆ”
นายสุรเกียรติ์ เสถียรไทย อดีตรองนายกรัฐมนตรี และ รมว.ต่างประเทศ ในฐานะเคยเป็น รมว.คลัง บอกผ่าน ทีมข่าวการเมือง ถึงทางรอดประเทศไทยหลังการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19โดยเสนอให้รองนายกรัฐมนตรี ด้านเศรษฐกิจ ดูแลฟื้นฟูเศรษฐกิจจากล่างขึ้นข้างบน โดยมีองค์กรทำหน้าที่เชื่อมระหว่างมหาวิทยาลัยในพื้นที่-ภาคเอกชน-ชุมชน และคณะกรรมการเฉพาะกิจ ทำการพัฒนาธุรกรรมออนไลน์ชุมชนเพื่อเพิ่มทักษะใหม่ที่จำเป็นและเสริมทักษะใหม่แก่ผู้ว่างงานจำนวนมหาศาลที่กลับสู่ชุมชน หากปล่อยให้ตกงานนาน 6-7 เดือน ไปไหนไม่ถูก ไปไม่เป็นสุดท้ายปัญหาสังคมและปัญหาอาชญากรรมตามมายิ่งโลกมีการเปลี่ยนแปลงหลายอย่าง คือ
1.ยุคดิจิทัลมาถึงเร็วขึ้นมาก วิถีชีวิตเปลี่ยน ธุรกิจออนไลน์ขยายตัวมาก การผลิตเริ่มไปหาหุ่นยนต์ การค้าเปลี่ยน การประกอบธุรกิจเปลี่ยน การศึกษาเปลี่ยนกระทบต่อภาคเอกชนและภาคประชาชนอย่างมาก โดยเฉพาะคนที่เข้าไม่ถึงการเปลี่ยนแปลงด้านดิจิทัลเช่น อาชีพนวด วินมอเตอร์ไซค์ คนขับแท็กซี่ จะเพิ่มทักษะใหม่ที่จำเป็นและเสริมทักษะใหม่ให้อย่างไร เพื่อทำอาชีพเดิมหรือเปลี่ยนอาชีพใหม่
รัฐบาลต้องรีบเข้าดูแลทำอย่างไรให้ชุมชนเข้าสู่ออนไลน์ได้ ในฐานะรองประธานมูลนิธิอาสาเพื่อนพึ่ง (ภาฯ) ยามยาก สภากาชาดไทย มีเครือข่ายทั้งมหาวิทยาลัยตามภาคต่างๆ สำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (สพธอ) ผลักดันโครงการออนไลน์ในชุมชน เอาประสบการณ์ของภาคใต้ ภาคเหนือ ภาคอีสาน กรุงเทพฯ มาแลกเปลี่ยนว่าทำอะไรบ้าง มีมูลนิธิฯเป็นศูนย์กลางโดยดึงมหาวิทยาลัย วิทยาลัยเทคนิค ที่สามารถจัดโครงการปรับทักษะให้แรงงานคืนถิ่น คนที่ตกงานและกลับไปยังพื้นที่ทำ “หมอเทคโน” คล้าย อสม. แต่เป็น อสม.ดิจิทัลขั้นพื้นฐานให้บุตรหลานที่เรียนอยู่ในมหาวิทยาลัย วิทยาลัยเทคนิคไปฝึกอบรมชาวบ้าน แรงงานคืนถิ่นและมหาวิทยาลัยซีเอ็มเคแอลที่เป็นเครือข่ายของมูลนิธิฯ ซึ่งเป็นมหาวิทยาลัยคาร์เนกีเมลลอน เบอร์หนึ่งด้านปัญญาประดิษฐ์ของสหรัฐอเมริกา จับมือสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง คิดโปรแกรมสั่งด้วยภาษาพูดในการค้าขายออนไลน์ เพื่อช่วยลุง ป้า น้า อา ที่ทำไม่ค่อยเป็นหากเป็นแรงงานที่ถูกแทนที่ด้วยหุ่นยนต์ รัฐบาลต้องมีนโยบายเพิ่มทักษะให้เข้าไปคุมหรือใช้เทคโนโลยีถ้ารัฐบาลเข้ามาดูแลจะช่วยรองรับยุคดิจิทัลที่มาถึงเร็วเกินไป
2.สงครามการค้า สงครามการลงทุน สงครามเทคโนโลยี ระหว่างสหรัฐอเมริกากับจีน ยังมีความต่อเนื่องและหนักขึ้นเรื่อยๆ จนถึงการเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกาในเดือน พ.ย.63กระทบต่อห่วงโซ่การผลิต เกิดความปั่นป่วนในห่วงโซ่การผลิต ประเทศไทยควรศึกษาว่าสินค้าที่ได้รับผลกระทบมีอะไรบ้าง เพราะภาคการผลิตเปลี่ยนภูมิทัศน์หมด ไม่ใช่ผลิตเพื่อส่งออกแบบเดิมการลงทุนในภาคอุตสาหกรรมเปลี่ยน โครงการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (อีอีซี) ควรคิดใหม่ ลงทุนใหญ่แบบเดิมไม่ได้
ยิ่งมีความตกลงหุ้นส่วนเศรษฐกิจของกลุ่มประเทศต่างๆ ควรศึกษาไส้ในถึงผลได้ ผลเสียให้ดี สินค้าส่งเสริมการลงทุน สินค้าลดภาษีเพื่อการส่งออก ยังใช่อยู่หรือไม่
และในเมื่อเครื่องยนต์ส่งออก เครื่องยนต์การท่องเที่ยวดับ การลงทุนของเอกชนและต่างประเทศในไทยก็เกือบดับ การลงทุนภาคเอกชนต้องคิดใหม่ เหลือการลงทุนภาครัฐ ซึ่งก็ช้า
ควรปรับเครื่องยนต์ตัวที่ดับให้ติด เน้นการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพและวัฒนธรรม แปลวัฒนธรรมความเอื้อเฟื้อ เผื่อแผ่ เกื้อกูล ดูแลการระบาดของโควิดได้ ให้เป็นทรัพย์สินของประเทศนำไปสู่เศรษฐกิจความไว้เนื้อเชื่อใจและการพัฒนาเศรษฐกิจสร้างสรรค์สงครามเย็นยุคใหม่ไม่ใช่อาวุธและกำลังทหาร มีผลกระทบต่อความมั่นคงและเศรษฐกิจอย่างไร นายสุรเกียรติ์ บอกว่ามีผลแน่นอนล่าสุด สหรัฐอเมริกาเห็นชอบยุทธศาสตร์การแข่งขันฉบับใหม่กับจีน โดยเพิ่มอิทธิพลของตัวเอง สร้างสันติภาพโดยใช้ความเข้มแข็ง รักษาการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ รักษาค่านิยมของตัวเอง กำหนดนโยบายหลายด้านล้วนเป็นจุดอ่อนไหวของจีนทั้งหมด เพื่อจำกัดการเจริญเติบโตของจีนขณะที่จีนใช้ยุทธศาสตร์ตรงกันข้ามกับสหรัฐอเมริกา มีทั้งพลังทางเศรษฐกิจและสร้างพันธมิตรกับประเทศต่างๆฉะนั้น ความตึงเครียดด้านความมั่นคงเป็นมิติที่ไปเชื่อมด้านเศรษฐกิจและสังคม เมื่อโลกมีผู้นำหลายคน มีผู้นำหลายเรื่อง ประเทศไทยควรถอดรหัสวางจุดยืนในแต่ละเรื่องอย่างไร ทุกกระทรวงควรทำงานร่วมกัน โดยเฉพาะกระทรวงการต่างประเทศ ซึ่งอยู่ในมิติด้านความมั่นคงและมิติด้านเศรษฐกิจ
3.ช่วงโควิดมีความร่วมมือระหว่างประเทศถูกผลักห่างออกไป ต่างคนต่างอยู่ องค์การอนามัยโลกทำอะไรไม่ค่อยได้ ไม่เหมือนสถานการณ์ไข้หวัดซาร์ส ไข้หวัดนก ทุกประเทศร่วมกันแก้ปัญหาขณะเดียวกันเกิดความร่วมมือระดับองค์กรอนุภูมิภาค อาทิ มีการประชุมในระดับอาเซียน สหภาพยุโรป เอเชียใต้ ฉะนั้น การฟื้นฟูเศรษฐกิจในระลอกสอง ระลอกสาม อาเซียนจะจับมือกันได้มากกว่านี้
4.โลกพึ่งพาตัวเองมากขึ้น พึ่งพาเรื่องอะไรบ้าง 5.พึ่งพาด้านอาหาร สาธารณสุขต้องให้ความสำคัญด้านความมั่นคงด้านอาหาร ความมั่นคงด้านสุขภาพซึ่งอาหารสุขภาพ อาหารที่กินแล้วฟื้นฟูจากโรคภัย อาหารต่อต้านไวรัส เรามีสมุนไพรมหาศาล เกษตรอินทรีย์เป็นที่หมายปองของคนทั่วโลก และมีการแพทย์ทางไกลที่เกิดขึ้นทันที เดิมบอกอีก 5 ปีถึงเกิดขึ้นขอให้รัฐบาลวางยุทธศาสตร์ให้ถูกเชื่อมให้มหาวิทยาลัยจับมือกัน เอกชนจับมือกัน ชุมชนจับมือกัน เพื่อเดินหน้าตามยุทธศาสตร์พร้อมสร้างระบบนิเวศ ทั้งงบประมาณ กฎหมายที่เป็นอุปสรรค เพื่อให้เกิดนักเทคโนโลยีท้องถิ่น6.เศรษฐกิจโลกชะลอตัวอย่างรุนแรง คนทั่วโลกกำลังตกงานเยอะมาก กำลังซื้อในโลกลดลง ประเทศต่างๆมีความเหลื่อมล้ำสูงขึ้นนับจากนี้เป็นต้นไปผลกระทบทางเศรษฐกิจของไทยกำลังเริ่มเกิดขึ้น กฎหมายล้มละลายให้ฟื้นฟูองค์กรใหญ่ เพิ่งแก้ฟื้นฟูเอสเอ็มอีได้แต่บุคคลธรรมดายังไม่ได้ ทั้งที่หนี้ภาคครัวเรือนพุ่งสูงมาก หากตกงานหรือรายได้ลดลง ในที่สุดจะล้มละลาย ถูกยึดบ้าน ยึดรถ ลามไปถึงสถาบันการเงิน หนี้เสียพุ่ง และโครงสร้างเศรษฐกิจถูกกระทบไปด้วย ถึงเวลาต้องมีกฎหมายล้มละลายบุคคลธรรมดาเพื่อฟื้นฟูและไม่ให้ลามไปถึงสถาบันการเงินขณะที่มาตรการเยียวยาควรทำต่อ ต่อให้เราไม่มีการระบาดรอบสอง แต่ต่างประเทศยังมีอยู่เท่ากับเศรษฐกิจโลกถูกปิด เป็นโจทย์ใหญ่ของทีมเศรษฐกิจรัฐบาลชุดใหม่วางนโยบายการเงินผ่านกระทรวงการคลัง เชื่อมนโยบายการเงินทางแบงก์ชาติ เช่น การเยียวยาปูพรม อาจปรับไปสู่เยียวยาเฉพาะกลุ่มถ้าช่วยสร้างงานให้เน้นไปที่ความมั่นคงทางอาหาร อาหารสุขภาพ เข้าไปฟื้นฟูชุมชนเช่นเดียวกันในข้อที่
7.ปัญหาจากโรค ตัวเลขการติดเชื้อยังสูง ไม่มีทางลดลงง่ายๆ
8.เน้นการศึกษาเรียนรู้ตลอดชีวิต ต้องเปลี่ยนการสอนเป็นระยะสั้น การเพิ่มทักษะใหม่ การเพิ่มทักษะดิจิทัล เพื่อเข้าสู่ระบบแรงงานได้วันนี้ประเทศไทยจะไม่พังเพราะนโยบายเศรษฐกิจแต่พังเพราะนโยบายการศึกษา เพราะผลิตคนมาแก้ปัญหาเศรษฐกิจไม่ได้ฉะนั้น ขอเสนอนายกฯปรับโครงสร้างกระทรวงศึกษาธิการ
https://www.thairath.co.th/news/politic/1892631